Month: May 2019

School Profiles

ขับรถยนต์ท่องเที่ยว

ขับรถยนต์ท่องเที่ยวให้สนุก ควรรู้จักการตรวจสภาพยางรถยนต์เบื้องต้น

การท่องเที่ยวในปัจจุบันเป็นสิ่งที่สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวแบบแบ็คแพ็คเกอร์ที่อาศัยการเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง หรืออาจจะเป็นการเดินทางด้วยรถของตนเอง ซึ่งถ้าหากเป็นการเดินทางด้วยรถส่วนตัวของตนเองแล้ว ความรู้สำคัญ ๆ ที่ควรรู้ไว้ ก็คือการตรวจสอบสภาพรถเบื้องต้น อันได้แก่ การตรวจสภาพยางรถยนต์ เพราะการขับรถเป็นระยะทางไกล ๆ นั้น แน่นอนว่าความปลอดภัยในการขับขี่เป็นเรื่องสำคัญมาก นอกจากสภาพร่างกายของผู้ขับขี่ที่ต้องเตรียมพร้อมให้สมบูรณ์แล้ว สภาพความพร้อมของยวดยานพาหนะ ล้อและยางรถยนต์ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งหลักการวิธีการตรวจสอบยางรถยนต์นั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ได้ดังนี้ 1.ควรปิดจุกลมยางให้สนิท และควรเปลี่ยนจุกยางเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้มีลมยางรั่วผ่านจุกออกมาได้ 2.ควรสลับยางที่ใช้เป็นครั้งคราว เพื่อให้ยางทั้งสี่ล้อเกิดความสมดุล 3.หมั่นคอยตรวจสอบแรงดันลมยางให้มีค่าตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 4.เติมปริมาณลมยางให้มีความเหมาะสมต่อการขับขี่ 5.หมั่นตรวจเช็คยางอะไหล่ให้สามารถพร้อมใช้งานได้อยู่เสมอ 6.คอยตรวจสอบ และหมั่นสังเกตสภาพยางรถยนต์อยู่เสมอ หากพบว่ายางเสื่อม ให้ทำการเปลี่ยนยางชุดนั้น 7.นำรถยนต์เข้ารับบริการที่ศูนย์บริการเพื่อการถ่วงและการตั้งศูนย์ล้อให้เหมาะสมแก่การใช้งาน นอกจากการเรียนรู้วิธีการเช็คสภาพยางเบื้องต้นแล้ว การรู้จักวิธีการเลือกยางที่มีประสิทธิภาพก็เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่ควรรู้ เนื่องจากยางแต่ละเส้นนั้นต่างก็มีอายุการใช้งานที่จำกัด ดังนั้นการเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเลือกยางให้เหมาะสมในการใช้งานกับรถแต่ละคัน ตลอดจนการรู้จักกับยางยี่ห้อต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นตัวเลือกในการเลือกซื้อยางครั้งต่อไปก็เป็นข้อมูลที่ควรรู้ไว้ ซึ่งวิธีเลือกซื้อยางที่ดีและเหมาะสม มีดังนี้ 1.เลือกขนาดยางรถยนต์เดียวกันกับยางที่ใส่มากับรถจากโรงงานหากคุณยังใช้ล้อชุดเดิม 2.เลือกยางที่มีโครงสร้างยาง ไม่ว่าจะเป็นความลึกของดอกยาง และลักษณะรูปแบบของดอกยางให้เหมาะสมต่อการใช้งาน 3.เวลาเปลี่ยนยางให้เลือกเปลี่ยนเป็นคู่ ๆ เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด 4.อายุของยางที่ซื้อ ควรเลือกยางที่ผลิตมาไม่นานมากจนเกินไป เพราะระยะเวลาที่ผ่านไปมีผลต่อประสิทธิภาพของยางที่ลดลง 5.เลือกยางที่มีดัชนีน้ำหนักบรรทุกเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น ดูจากอายุการใช้งานของรถ และรูปแบบการขับขี่ของตนเองว่าเป็นคนที่ชอบขับรถเรื่อย…
Read more

คิดว่างานราชการดีกว่างานเอกชนจริงหรือ

เช้าวันนี้ผมเองผมได้อ่านข่าวนึง ซึ่งก็พูดได้ดีมากถึงแนวคิดของคนไทยที่พูดว่างานราชการนั่นดีกว่างานโดยทั่วไป แต่เมื่อได้เข้าไปอ่านจึงได้รับรู้ถึงความยากในการรับราชการแล้ว ถามว่าโดนใจอยากรับราชการหรือมั้ยผมเองก็พูดได้เต็มปากเลยครับว่าก็อยากรับราชการเหมือนผู้อ่านทุกท่านเช่นกัน ด้วยเรื่องของสวัสดิการที่เบิกได้ตลอดจนพ่อแม่และครอบครัว ดียิ่งกว่าที่ได้รับทั้งเงินบำนาญอีกดีเวอร์มาก แต่เมื่อเราต้องมาเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่จะต้อรอเรียกเข้ารับราชการก็แทบจะต้องรอกันมากถึง 5 – 7 ปีเลยก็ว่าได้ ในบางรายที่ลำดับการเรียกของคุณมีจำนวนเป็นหลักร้อย แทบจะต้องทำใจกันไปเลยก็ว่าได้ เหมือนเคสของเพื่อนพ่อผมท่านได้บรรจุเอาตอนช่วงอายุ 50 ปีพอดีเลย ซึ่งขอบอกว่าอีก 5 ปีท่านก็ต้องทำการออกตามอายุราชการแล้วนั่นเอง ซึ่งกว่าจะได้บรรจุต้องบุกน้ำลุยไฟ ผ่านร้อนหนาวกันมานับมิท้วนเลยก็ว่าได้ผมเองได้ฟัง ก็คิดตามกันเลยทีเดียวว่าหากเราไม่พร้อมจริง หรือจำเป็นจะต้องใช้เงินก็คงไม่สามารถที่จะมานั่งรอเรียกรับราชการได้อย่างแน่นอน แต่หากเรานึกย้อนในมุมกลับกันการที่รับราชการหากเราไม่ทำผิดวินัยร้ายแรงประการใด ก็อยุ่ยาวเลยจ้า ไม่ต้องมานั่งกลัวเรื่องการลอยแพจากนายจ้างบ้าง หรือปัญหาทางด้านเศษฐกิจบ้าง ไหนจะเรื่องของการเมืองเข้ามารวมด้วยอีกแทบจะต้องคิดการให้ไกลออกไปอีกเลยก็ว่าได้ คือจะต้องคิดแล้วคิดเยอะ ๆ คิดนาน ๆ กันเลยครับ เรื่องงานราชการ มาว่ากันต่อเรื่องของสวัสดิการกันบ้าง ปกติการได้สิทธิของการรักษาพยาบาลฟรีมันก็จะเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเราลองมองดูให้ลึกเข้าไปถามว่าแล้วเรื่องของการดูแล ละผมบอกเลยว่าก็ไม่ดีเทียบเท่ากับสถานพยาบาลเอกชนเป็นอย่างแน่นอนก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแพทย์ที่มาดูแลรักษา ตัวยาที่นำมาให้บริการ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จะพูในแง่ลบด้านเดี่ยวก็ไม่ได้ถามว่าสิทธิการดูแลพื้นฐาน ณ ปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาการรักษามากขึ้นช้วยให้ผู้มีรายได้น้อยชาวเราได้ลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องเหล่านี้ไปได้มากเลยทีเดียว ดีกว่าจะต้องจ่ายเงินเองเป็นแน่ เพราะในบางโรคอาจจะต้องใช้ตัวยาที่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าตัวยาสามัญปกติ ซึ่งแทบไม่ต้องถามราคาเป็ฯหมื่นบาทก็น่าจะถึงเป็นไปได้ หรืออีกในหนึ่งพูดถึงสิทธิของการเข้ารับการผ่าตัดไม่ว่าจะคลอดบุตรก็ดี หรือผ่าตัดใหญ่ อาทิเช่น ผ่าตัดไส้ติ่ง ปัจจุบันก็ได้รับการบรรจุลงในสิทธิการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานแล้วนั่นเองครับ