การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

คำในภาษาไทยหลายคำมีความหมายใกล้เคียงกัน บางคำอาจใช้แทนกันได้ ขณะที่บางคำใช้แทนกันไม่ได้ เช่น คำว่า มอง จ้อง เพ่ง เล็ง ชม้อย ชม้าย เมียง เมิน เหลือบ เหลียว ยล เป็นชุดคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ลักษณะอาการต่างกัน ดังนั้นการใช้คำจึงต้องเลือกใช้ให้ตรงตามความหมาย    ความหมายโดยนัย คือ ความหมายเชิงเปรียบเทียบหรือมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น มีความหมายแฝงในคำ สามารถสื่ออารมณ์แก่ผู้อ่านได้มาก จึงนิยมนำไปใช้เป็นความเปรียบ แต่ต้องเป็นที่เข้าใจตรงกัน เช่น          ส.ส. คนนี้วางมือทางการเมืองแล้ว คำว่า วางมือ หมายถึง เลิกยุ่งเกี่ยว การเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล    มีข้อสังเกต ดังนี้   1. ใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล เพื่อให้เกียรติตามฐานะ เช่น        เจ้าอาวาสอาพาธอยู่ที่โรงพยาบาล      – อาพาธ ใช้กับพระสงฆ์        ยายนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล            – ป่วย ใช้กับบุคคลธรรมดา  …
Read more